ายอนรรฆ สาสุข

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

ผลการพัฒนางานด้านการจัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัด (Indicators)

- ผู้เรียนมีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
o ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 76
o ผลสัมฤทธิ์ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ร้อยละ 85

- ผู้เรียนร้อยละ 80 สามารถนำเสนอผลงานอินโฟกราฟิกตามกระบวนการวิทยาการข้อมูลในระดับดีขึ้นไป


ผลการปฏิบัติงาน

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แผนภูมิ แสดงร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.5 ตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (ระดับ 2 ขึ้นไป)

สรุป นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.5 ตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (ระดับ 2 ขึ้นไป) ร้อยละ 81.65 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

2) ผลสัมฤทธิ์ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

แผนภูมิ แสดงร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (ระดับดีขึ้นไป)

สรุป นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.5 ตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (ระดับดีขึ้นไป) ร้อยละ 100 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

3) ผลการพัฒนาความสามารถในการนำเสนอผลงานอินโฟกราฟิกตามกระบวนการวิทยาการข้อมูล

ตาราง แสดงผลการประเมินความสามารถนำการนำเสนอผลงานรูปแบบอินโฟกราฟิกตามกระบวนการวิทยาการข้อมูล

สรุป นักเรียนมีความสามารถในการนำเสนอผลงานอินโฟกราฟิกตามกระบวนการวิทยาการข้อมูล ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 82.84 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- รายงานและสรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (กวช.11)

- หลักสูตรรายวิชาวิทยาการคำนวณ

- แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ

- สื่อ เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบฝึกหัด แบบทดสอบและแบบประเมินผลนักเรียน

- รายงานการนิเทศการจัดการเรียนรู้

- ผลงานนักเรียนที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

- กิจกรรมส่งเสริมวิชาการที่จัดให้นักเรียน (รายงานผลการจัดกิจกรรม)
- ข่าวประชาสัมพันธ์ (เว็บเพจโรงเรียน)

ผลการพัฒนางานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้

ตัวชี้วัด (Indicators)

- ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน แก้ไข พัฒนาด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

- ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้รับการดูแล กำกับ ติดตาม แก้ไขผลการเรียนจากครูที่ปรึกษา และเลื่อนชั้นเรียนครบทุกคน

ผลการปฏิบัติงาน


1) การส่งเสริม สนับสนุน แก้ไข พัฒนานักเรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

- นักเรียนชั้น ม.5/7 ได้รับการเยี่ยมบ้านจากครูที่ปรึกษาคิดเป็น ร้อยละ 100

- นักเรียนชั้น ม.5/7 ได้รับการคัดกรองเพื่อช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยขอทุนการศึกษาให้นักเรียน จำนวน 7 คน

- นักเรียนชั้น ม.5/7 ได้รับการกำกับ ติดตามจากครูที่ปรึกษาด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ได้แก่ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเฝ้าระวัง 0 ร มส กิจกรรมแก้ไขผลการเรียนนักเรียน ทั้งรูปแบบ On-Site และ Online เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

2) การดูแล กำกับ ติดตาม แก้ไขผลการเรียน และผลการเลื่อนชั้นของนักเรียน

สรุป ผลการกำกับ ติดตามการแก้ไขผลการเรียน

จำนวนนักเรียนทั้งหมด 40 คน

จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 32 คน

จำนวนนักเรียนที่แก้ไขผลการเรียนครบทุกวิชา 32 คน

คิดเป็นร้อยละ 100 (นักเรียนได้เลื่อนชั้นครบทุกคน)

เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- แบบบันทึกเวลาเรียนและคะแนนรายวิชาในระบบ ToSchool

- การจัดกิจกรรมโฮมรูม และบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมโฮมรูมในระบบ

- บันทึกข้อความ สรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2564

- แบบรายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน

- กิจกรรมการส่งเสริม กำกับ ติดตาม นักเรียนในประจำชั้นด้านวิชาการ

- สรุปผลการแก้ไขผลการเรียนนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
- คำสั่งแต่งตั้งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา

ผลการพัฒนางานด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

ตัวชี้วัด (Indicators)

- ผู้เรียนร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมให้ฝึกปฏิบัติจริง มีการจัดการ และการแก้ปัญหาในระดับมากขึ้นไป

- ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับมากขึ้นไป

ผลการปฏิบัติงาน

1) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมให้ฝึกปฏิบัติจริง มีการจัดการ และการแก้ปัญหา

ตาราง แสดงร้อยละความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมให้ฝึกปฏิบัติจริง มีการจัดการ และการแก้ปัญหา

สรุป นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมให้ฝึกปฏิบัติจริง มีการจัดการ และการแก้ปัญหา ระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 93.75 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

2) ความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดการเรียนรู้ของครู

ตาราง แสดงร้อยละความพึงพอใจของนักเรียนในภาพรวมต่อการจัดการเรียนรู้ของครู

สรุป นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ระดับมากขึ้นไป ร้อยละ 88.59 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- เกียรติบัตร การเข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ การพัฒนาสมรรถนะครูดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ การใช้งาน KigBright AI พื้นฐาน และการเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะเพื่อพัฒนาครูสู่นักเรียน

- การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้แห่งวิชาชีพ (PLC) เพื่อร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี

- เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกลุ่มบริหารวิชาการ

- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

- รายงานผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู

ผลการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้

รายละเอียดตามข้อตกลงฯ

1. วิธีการดำเนินการ (สรุปพอสังเขป)

จัดทำบทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรมมูเดิ้ล (Moodle) เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดหวัง
2.1 เชิงปริมาณ
(ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณตามข้อตกลง)
1) ผู้เรียนร้อยละ 80 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2) ผู้เรียนร้อยละ 76 มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

2.2 เชิงคุณภาพ (ระบุเป้าหมายเชิงคุณภาพตามข้อตกลง)
ผู้เรียนมีทักษะการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Moodle) ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีทักษะการคิดตามกระบวนการวิทยาการข้อมูลในการพัฒนางาน

ผลการปฏิบัติงาน

บทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรมมูเดิ้ล Moodle
(รายวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้น ม.5)
จัดทำไว้ในศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนเทพลีลา TLC Online

1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

ตาราง แสดงร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

สรุป นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.5 ตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (ระดับ 2 ขึ้นไป) ร้อยละ 81.65 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

2) ผลสัมฤทธิ์ทางเรียน

ผลการพัฒนางานตามด้านที่ 1 ข้อที่ 1)

สรุป นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.5 ตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (ระดับ 2 ขึ้นไป) ร้อยละ 81.65 เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน


3) การพัฒนาทักษะการใช้ระบบเทคโนโลยี (Moodle) และทักษะการคิดในการพัฒนางาน

- การเข้าใช้ระบบบทเรียนออนไลน์ในระบบศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนเทพลีลา TLC Online ของนักเรียนในการเรียนรูปแบบออนไลน์ได้ครบทุกคน และพัฒนาผลงานผ่านตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เป็นไปตามข้อตกลงในการพัฒนางาน

แหล่งอ้างอิง

- ระบบศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนเทพลีลา รายวิชา วิทยาการคำนวณ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 TLC Online http://tlc.tepleela.ac.th/

- ผลการทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนในระบบบทเรียนออนไลน์

- รายงานและสรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (กวช.11)

- ผลงานนักเรียน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางาน